หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

งานนำเสนอ

งานนำเสนอพร้อมบรรยาย




download click

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 10

วิกิพีเดีย จะเปลี่ยนมาใช้ CC

จิ มมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย (หรือ วิกีพีเดีย ถ้าไม่อ่านแบบทิงลิ ช) ประกาศมาเมื่อคืนว่า มูลนิธิวิกิมีเดียตกลงยอมรับที่จะมีการปรับแก้ลิขสิทธิ์ของวิกิพีเดียจาก เดิมที่เป็นแบบ GFDL ให้สอดคล้องกับ CC หรือ ครี เอทีฟคอมมอนส์ ที่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมและมีการพัฒนาตลอดเวลา (รวมถึงการแปลในหลายภาษา ซึ่งภาษาไทยเรากำลังจัดทำอยู่และคงออกมาให้ใช้เร็ววันนี้)

นอกจากนี้เขายังได้กล่าวอีกว่า ถ้า CC ได้มีการก่อตั้งขึ้นก่อนวิกิพีเดีย เขามั่นใจว่าจะเลือกใช้ CC เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลในวิกิพีเดียอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามรูปแบบของ GFDL ที่ปัจจุบันใช้อยู่ นั้นดีเช่นกัน แต่ค่อนข้างยากในการเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้

ที่มา:http://www.blognone.com/node/6441

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

วิกิพีเดียทำลายความลับ50ปี ละครดัง 'อกาธ่า คริสตี้'

ครอบครัวอกาธ่า คริสตี้ แสดงความไม่พอใจเว็บไซด์วิกิพีเดีย ที่เปิดเผยชื่อฆาตกรในละครดัง อ้างทำลายความลับที่ปิดมากว่า 50 ปี
ครอบครัวของอกาธ่า คริสตี้ นักเขียนนิยายปริศนาฆาตกรรมชื่อก้องโลกผู้ล่วงลับ แสดงความไม่พอใจหลังจากที่ 'วิกิพิเดีย' เว็บไซด์ให้ข้อมูลความรู้หลากหลายเรื่องทั่วโลกเปิดเผยชื่อฆาตกรในการแสดง ละครยอดนิยม เรื่อง The Mousetrap ของอกาธ่า คริสตี้ ซึ่งทางครอบครัวกล่าวว่า ได้ถูกปิดเป็นความลับมาเป็นระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ
โดยนายแม็ธธิว พริชาร์ด หลายชายผู้ครอบครองสิทธิการขายนิยายดังกล่าว เปิดเผยว่าเขาจะหยิบยกเรื่องนี้ไปหารือกับผู้บริหารของวิกิพีเดีย และโดยส่วนตัวเขาเห็นว่า ย่าของเขาคงจะไม่พอใจ หากโครงเรื่องในหนังสือนิยายหรือละครเวทีถูกเปิดเผยชื่อตัวฆาตกรรม
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ละครดังกล่าวถือเป็นละครยอดนิยมของเกาะอังกฤษ ที่มีความพยายามปิดความลับเกี่ยวกับตัวฆาตกรมาเป็นเวลากว่า 57 ปี โดยผู้ชมละครเรื่องนี้ต่างถูกขอร้องไม่ให้เปิดเผยชื่อฆาตกรในเรื่อง เพื่อรักษาอรรถรสการชมละครของคนที่ยังไม่เคยดูหรือชนรุ่นหลังต่อไป โดยนอกเหนือจากครอบครัวของ อกาธ่า คริสตี้ แล้ว ยังมีบรรดาแฟนๆอีกไม่น้อย ที่ร้องเรียนให้วิกิพีเดียถอดชื่อฆาตกรดังกล่าวออกจากเว็บไซด์
อย่างไรก็ตาม วิกิพีเดียปฎิเสธที่จะทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยระบุว่า การทำเช่นนั้นไม่ต่างอะไรจากการที่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดถอดเนื้อหาสำคัญของ เรื่องในหนังสือออกไป เพียงเพราะคนอื่นจะรู้ว่าตอนจบของเรื่องเป็นอย่างไร
ทั้งนี้เว็บไซด์วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมออนไลน์หลายภาษาที่แจกจ่ายในลักษณะเนื้อหาเสรี บริหารงานโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์ และ แลร์รี แซงเจอร์ ปัจจุบันวิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ที่ใหญ่และเติบโตเร็วที่สุด ในโลก

ที่มา:http://www.voicetv.co.th/content/20287

งานนำเสนอ














download power point click

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

กูเกิลคลอด"Knol" ชนวิกิพีเดีย
กูเกิลเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ "Knol" เปิดกว้างให้ผู้ใช้เข้ามาเขียนบทความได้เหมือนเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ชื่อดังอย่างวิกิพีเดีย (Wikipedia) แต่แตกต่างที่ผู้เขียนจะสามารถลงชื่อได้ มั่นใจการเปิดเผยชื่อผู้เขียนบทความจะเพิ่มความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญในวิกิพีเดียมาตลอด

วิกิพีเดียนั้นเป็นสารานุกรมออนไลน์ที่เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถแสดงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นๆได้อย่างเสรี การเปิดกว้างให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้ทำให้ข้อมูลมีความสดใหม่ทันเหตุการณ์ก็จริง แต่ความเสรีและการไร้การตรวจสอบกลับทำให้วิกิพีเดียมีจุดอ่อนที่เนื้อหาไม่น่าเชื่อถือ จุดนี้ Cedric DuPont ผู้จัดการผลิตภัณฑ์กูเกิลซึ่งดูแลโครงการ Knol มั่นใจว่าการรู้ว่าใครคือผู้เขียนบทความจะทำให้ผู้อ่านมีความเชื่อถือในบทความนั้นๆ กูเกิลจึงเปิดบริการ Knol เพื่อปฎิวัติวงการแหล่งความรู้ออนไลน์

กูเกิลให้บริการที่ http://knol.google.com เริ่มทดสอบบริการตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว

การเผยแพร่บทความใน Knol นั้นไม่ต่างจากการเขียนบล็อกทั่วไป สิ่งที่แตกต่างคือ Knol จะรวมข้อเขียนในหัวข้อนั้นๆไว้ในหน้าเดียว ที่สำคัญคือข้อเขียนที่มีการอัปเดทจะไม่เรียงตามละดับวันเวลาก่อนหลังการโพสต์ จุดนี้กูเกิลระบุว่าลำดับการแสดงข้อเขียนจะอยู่ที่การจัดดัชนีความนิยมซึ่งผู้อ่านจะเป็นผู้ลงคะแนนว่าข้อเขียนใดมีความน่าเชื่อถือ(อ่านต่อ...)

ที่มา : http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=31&post_id=32856&title=%A1%D9%E0%A1%D4%C5%A4%C5%CD%B4-Knol--%AA%B9%C7%D4%A1%D4%BE%D5%E0%B4%D5%C2--

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

E-Journal

E-Journal



download E-Journal click

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

วิกิพีเดียพึ่งได้ แต่ไม่เต็มร้อย

ไม่ นานมานี้ ยังมีกฎเหล็กสำหรับนักเรียนของโรงเรียนมัธยมและระดับมหาวิทยาลัยที่ใช้ เว็บไซต์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยว่าขอให้ระมัดระวังเรื่องการนำ ดิจิตอล คอนเทนต์ไปใช้อ้างอิง ไม่ควรนำคอนเทนต์ที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ไปกล่าวอ้างในรายงาน สรุปง่ายๆ ก็คือ ต้องระวัง Google และไม่ควรไปยุ่งกับ Wikipedia นั่นเอง

แต่ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเว็บไซต์ได้เจริญรุ่งเรืองและแพร่หลายเป็นอย่างมาก และปรากฏผลงานวิจัยในยุคดิจิตอล เว็บไซต์กลายเป็นเครื่องมือทางสังคมในการค้นหาความจริง เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระในหนังสือ และการก่อเกิดของ e- readers ได้ทำให้ระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมักจะล้ำหน้าตำราที่เคยใช้กันมาในอดีต ทั่วโลกได้ยอมรับการใช้ข้อมูลทางออนไลน์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากที่สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

เจย์ วอล์ช (Jay Walsh) ประชาสัมพันธ์ของ Wikimedia Foundation กล่าวว่าเฉพาะวิกิพีเดีย มีหัวข้อต่างๆให้ศึกษาค้นคว้ามากถึง 16 ล้านเรื่อง แต่ก็ยอมรับว่าไม่ใช่ทุกเรื่องที่สามารถจะนำไปอ้างอิงที่ดีได้ เพราะอาจจะมีเนื้อหาในบางเรื่องที่ไม่รู้ที่มาที่ไปว่าใครเป็นคนเขียนขึ้น ถึงอย่างนั้นเทคโนโลยีด้านสื่อที่ก้าวหน้าอย่างมากก็พอจะช่วยให้นักเรียนนัก ศึกษาสามารถแยกแยะเนื้อหาต่างๆ ที่พบเห็นได้

ผลการศึกษาของ Nature ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี 2005 โดยมีการสำรวจเรื่องราวต่างๆ ที่ปรากฏในวิกิพีเดียพบว่า วิกิพีเดียอยู่ในเกณฑ์เดียวกับ Encyclopedia Britannica ในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ถือเป็นผลสำรวจที่ช่วยเสริมแรงให้กับผู้ที่สนับสนุนแนวความคิดในศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน และ ทำให้นักการศึกษาบางคนยอมรับว่าทุกวันนี้วิกีพีเดียเป็นแหล่งค้นคว้าหาความ รู้พื้นฐานที่เพียงพอและพึ่งพาได้ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จะนำไปใช้อ้างอิงได้อย่างสมบูรณ์ (อ่านต่อ)


ที่มา : http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=3768&Itemid=34