E-Journal
download E-Journal click
วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7
วิกิพีเดียพึ่งได้ แต่ไม่เต็มร้อย
ไม่ นานมานี้ ยังมีกฎเหล็กสำหรับนักเรียนของโรงเรียนมัธยมและระดับมหาวิทยาลัยที่ใช้ เว็บไซต์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยว่าขอให้ระมัดระวังเรื่องการนำ ดิจิตอล คอนเทนต์ไปใช้อ้างอิง ไม่ควรนำคอนเทนต์ที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ไปกล่าวอ้างในรายงาน สรุปง่ายๆ ก็คือ ต้องระวัง Google และไม่ควรไปยุ่งกับ Wikipedia นั่นเอง
แต่ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเว็บไซต์ได้เจริญรุ่งเรืองและแพร่หลายเป็นอย่างมาก และปรากฏผลงานวิจัยในยุคดิจิตอล เว็บไซต์กลายเป็นเครื่องมือทางสังคมในการค้นหาความจริง เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระในหนังสือ และการก่อเกิดของ e- readers ได้ทำให้ระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมักจะล้ำหน้าตำราที่เคยใช้กันมาในอดีต ทั่วโลกได้ยอมรับการใช้ข้อมูลทางออนไลน์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากที่สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
เจย์ วอล์ช (Jay Walsh) ประชาสัมพันธ์ของ Wikimedia Foundation กล่าวว่าเฉพาะวิกิพีเดีย มีหัวข้อต่างๆให้ศึกษาค้นคว้ามากถึง 16 ล้านเรื่อง แต่ก็ยอมรับว่าไม่ใช่ทุกเรื่องที่สามารถจะนำไปอ้างอิงที่ดีได้ เพราะอาจจะมีเนื้อหาในบางเรื่องที่ไม่รู้ที่มาที่ไปว่าใครเป็นคนเขียนขึ้น ถึงอย่างนั้นเทคโนโลยีด้านสื่อที่ก้าวหน้าอย่างมากก็พอจะช่วยให้นักเรียนนัก ศึกษาสามารถแยกแยะเนื้อหาต่างๆ ที่พบเห็นได้
ผลการศึกษาของ Nature ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี 2005 โดยมีการสำรวจเรื่องราวต่างๆ ที่ปรากฏในวิกิพีเดียพบว่า วิกิพีเดียอยู่ในเกณฑ์เดียวกับ Encyclopedia Britannica ในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ถือเป็นผลสำรวจที่ช่วยเสริมแรงให้กับผู้ที่สนับสนุนแนวความคิดในศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน และ ทำให้นักการศึกษาบางคนยอมรับว่าทุกวันนี้วิกีพีเดียเป็นแหล่งค้นคว้าหาความ รู้พื้นฐานที่เพียงพอและพึ่งพาได้ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จะนำไปใช้อ้างอิงได้อย่างสมบูรณ์ (อ่านต่อ)
ที่มา : http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=3768&Itemid=34
ไม่ นานมานี้ ยังมีกฎเหล็กสำหรับนักเรียนของโรงเรียนมัธยมและระดับมหาวิทยาลัยที่ใช้ เว็บไซต์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยว่าขอให้ระมัดระวังเรื่องการนำ ดิจิตอล คอนเทนต์ไปใช้อ้างอิง ไม่ควรนำคอนเทนต์ที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ไปกล่าวอ้างในรายงาน สรุปง่ายๆ ก็คือ ต้องระวัง Google และไม่ควรไปยุ่งกับ Wikipedia นั่นเอง
แต่ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเว็บไซต์ได้เจริญรุ่งเรืองและแพร่หลายเป็นอย่างมาก และปรากฏผลงานวิจัยในยุคดิจิตอล เว็บไซต์กลายเป็นเครื่องมือทางสังคมในการค้นหาความจริง เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระในหนังสือ และการก่อเกิดของ e- readers ได้ทำให้ระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมักจะล้ำหน้าตำราที่เคยใช้กันมาในอดีต ทั่วโลกได้ยอมรับการใช้ข้อมูลทางออนไลน์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากที่สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
เจย์ วอล์ช (Jay Walsh) ประชาสัมพันธ์ของ Wikimedia Foundation กล่าวว่าเฉพาะวิกิพีเดีย มีหัวข้อต่างๆให้ศึกษาค้นคว้ามากถึง 16 ล้านเรื่อง แต่ก็ยอมรับว่าไม่ใช่ทุกเรื่องที่สามารถจะนำไปอ้างอิงที่ดีได้ เพราะอาจจะมีเนื้อหาในบางเรื่องที่ไม่รู้ที่มาที่ไปว่าใครเป็นคนเขียนขึ้น ถึงอย่างนั้นเทคโนโลยีด้านสื่อที่ก้าวหน้าอย่างมากก็พอจะช่วยให้นักเรียนนัก ศึกษาสามารถแยกแยะเนื้อหาต่างๆ ที่พบเห็นได้
ผลการศึกษาของ Nature ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี 2005 โดยมีการสำรวจเรื่องราวต่างๆ ที่ปรากฏในวิกิพีเดียพบว่า วิกิพีเดียอยู่ในเกณฑ์เดียวกับ Encyclopedia Britannica ในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ถือเป็นผลสำรวจที่ช่วยเสริมแรงให้กับผู้ที่สนับสนุนแนวความคิดในศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน และ ทำให้นักการศึกษาบางคนยอมรับว่าทุกวันนี้วิกีพีเดียเป็นแหล่งค้นคว้าหาความ รู้พื้นฐานที่เพียงพอและพึ่งพาได้ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จะนำไปใช้อ้างอิงได้อย่างสมบูรณ์ (อ่านต่อ)
ที่มา : http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=3768&Itemid=34
วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6
10+1 วิธี(tips)บรรเทาความเหงาวิกิพีเดีย
ท่านอาจารย์ลินดา ฮูซิเออร์ตีพิมพ์เรื่อง '10 มาตรการต้านความเหงา (10 tips for relieving loneliness)' ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
ก่อนอื่นขอให้เรามาทำความ เข้าใจกับธรรมชาติของความเหงาก่อนคือ ใครๆ ก็เหงาเป็นกันทั้งนั้น ปัญหาอยู่ที่ว่า เราจะจัดการกับมันอย่างไร ซึ่งถ้าจัดการกับมันดีๆ อาจพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสแห่งการพัฒนาได้
ธรรมชาติของโลกเราคือ ข่าวดีมักจะมาคู่กับข่าวร้าย และข่าวร้ายก็มักจะมาคู่กับข่าวดี... ถ้าเรามองความเหงาเป็นข่าวร้าย... ข่าวนี้ก็มักจะมาคู่กับข่าวดีๆ เช่นกัน
วิธีในการบรรเทาความเหงา 10 ข้อ ผู้เขียนขออนุญาตเขียนแบบ "ไทย(หลาย)คำ-อังกฤษ(น้อย)คำ" เพื่อให้พวกเราได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กันครับ
(1). Learn to become more self-sufficient = เรียนรู้การอยู่แบบพอเพียง
การอยู่แบบพอเพียงในที่นี้หมายถึงการ "ทำอะไรด้วยตัวเอง" หรือ "ช่วยเหลือตัวเอง" ได้พอสมควร เช่น ถ้าเป็นคุณยายและขับรถไม่เป็นก็อาจจะนั่งเหงาอยู่คนเดียวที่บ้าน ฯลฯ หลักการหนึ่งของโลกคือ เราต้องช่วยเหลือตัวเองก่อน พยายามให้เต็มที่ จึงจะมีคน "หันใจ (ภาษาเหนือ; หันใจ = เห็นใจ)"
ทีนี้ถ้าคุณยายเกิดใช้คอมพิวเตอร์เป็น ใช้อินเตอร์เน็ตเป็น... อาจทำให้ 'chat (พิมพ์ข้อความคุยกัน)' กับคุณหลาน ถ้าคุณยายเกิดใช้โทรศัพท์มือถือเป็น... อาจจะโทร.ไปคุยกับหลานได้
หรือถ้าพัฒนาความสามารถขึ้นไปอีก เช่น ถ้านั่งรถไฟฟ้าเป็น... อาจทำให้นัดไปเลี้ยงไอศกรีมกับหลาน และขึ้นรถไป "พบกันครึ่งทาง" ได้ ถ้าขับรถเป็น... อาจขับรถไปหาหลาน ดีไม่ดีเก่งขึ้นไปอีก... เขียนบล็อกในอินเตอร์เน็ตเป็น คราวนี้อาจกลายเป็น "คุณยายสุดฮอต (hot grandma / hot grandmother) มีเพื่อนฝูง มีกิจกรรมสนุกๆ ทำ ไม่ต้องง้อคุณหลานคนเดียวอีกต่อไปอะไรทำนองนี้
(2). Take a hobby = ทำงานอดิเรก
มีคุณลุงหลังเกษียณหมาดๆ (เกษียณใหม่ๆ) หลายคนแต่งตัวแต่เช้า นั่งรถไปที่ทำงาน ไปแล้วก็เหี่ยวกลับบ้าน เพราะอะไรๆ ก็เปลี่ยนไป ยศถาบรรดาศักดิ์ที่เคยมีกลายเป็นไม่มี... นี่เป็นความเหงาแบบคนที่ไม่มีงานอดิเรก
ทีนี้ถ้าคุณลุงคนเดิมมีงาน อดิเรก เช่น เล่นตะกร้อหรือเล่นเทนนิส ฯลฯ กับพรรคพวกเพื่อนฝูงเป็นประจำ ไปไหนก็เข้าวงตะกร้อได้... แบบนี้คงไม่เหงาง่ายๆ ยิ่งถ้าเล่นไปชมคนอื่นให้เป็นคงจะไม่เหงาแน่
ตอนเด็กๆ นี่ผู้เขียนเล่นหมากรุกชนะนายตำรวจท่านหนึ่งเป็นประจำ ทำให้ท่านไม่ค่อยอยากเล่นด้วย กลับชอบไปเล่นหมากรุกกับคุณพ่อผู้เขียน...
คุณพ่อผู้เขียนเลยบอกเคล็ด ไม่ลับว่า ผู้เขียนน่ะ "เล่นหมากรุกไม่เป็น"... คนที่เล่นเป็นต้อง "แพ้ให้เป็น" เช่น เล่นไปสักพักแล้วต้องทำเป็นแกล้งแพ้ ฯลฯ แพ้บ้างชนะบ้างจึงจะมีคนอยากเล่นด้วย คนที่มุ่งมั่นเอาชนะอย่างเดียวไม่มีใครอยากเล่นด้วยเท่าไหร่
เพื่อนผู้เขียนท่านหนึ่งเป็นหมอกระดูกที่เก่งมาก ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์... ท่านเล่นเทนนิสเก่ง เล่นกับอาจารย์เป็นประจำ สังเกตดูพอเล่นไปสักพักจะแกล้งแพ้ และแพ้ได้แนบเนียนมาก ทำให้เป็นที่ชื่นชมของครูบาอาจารย์ (แน่นอนว่า อาจารย์เป็นฝ่ายชนะ)
(อ่านต่อ)
ที่มา : http://health2you.blog.mthai.com/2009/02/20/public-5
ท่านอาจารย์ลินดา ฮูซิเออร์ตีพิมพ์เรื่อง '10 มาตรการต้านความเหงา (10 tips for relieving loneliness)' ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
ก่อนอื่นขอให้เรามาทำความ เข้าใจกับธรรมชาติของความเหงาก่อนคือ ใครๆ ก็เหงาเป็นกันทั้งนั้น ปัญหาอยู่ที่ว่า เราจะจัดการกับมันอย่างไร ซึ่งถ้าจัดการกับมันดีๆ อาจพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสแห่งการพัฒนาได้
ธรรมชาติของโลกเราคือ ข่าวดีมักจะมาคู่กับข่าวร้าย และข่าวร้ายก็มักจะมาคู่กับข่าวดี... ถ้าเรามองความเหงาเป็นข่าวร้าย... ข่าวนี้ก็มักจะมาคู่กับข่าวดีๆ เช่นกัน
วิธีในการบรรเทาความเหงา 10 ข้อ ผู้เขียนขออนุญาตเขียนแบบ "ไทย(หลาย)คำ-อังกฤษ(น้อย)คำ" เพื่อให้พวกเราได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กันครับ
(1). Learn to become more self-sufficient = เรียนรู้การอยู่แบบพอเพียง
การอยู่แบบพอเพียงในที่นี้หมายถึงการ "ทำอะไรด้วยตัวเอง" หรือ "ช่วยเหลือตัวเอง" ได้พอสมควร เช่น ถ้าเป็นคุณยายและขับรถไม่เป็นก็อาจจะนั่งเหงาอยู่คนเดียวที่บ้าน ฯลฯ หลักการหนึ่งของโลกคือ เราต้องช่วยเหลือตัวเองก่อน พยายามให้เต็มที่ จึงจะมีคน "หันใจ (ภาษาเหนือ; หันใจ = เห็นใจ)"
ทีนี้ถ้าคุณยายเกิดใช้คอมพิวเตอร์เป็น ใช้อินเตอร์เน็ตเป็น... อาจทำให้ 'chat (พิมพ์ข้อความคุยกัน)' กับคุณหลาน ถ้าคุณยายเกิดใช้โทรศัพท์มือถือเป็น... อาจจะโทร.ไปคุยกับหลานได้
หรือถ้าพัฒนาความสามารถขึ้นไปอีก เช่น ถ้านั่งรถไฟฟ้าเป็น... อาจทำให้นัดไปเลี้ยงไอศกรีมกับหลาน และขึ้นรถไป "พบกันครึ่งทาง" ได้ ถ้าขับรถเป็น... อาจขับรถไปหาหลาน ดีไม่ดีเก่งขึ้นไปอีก... เขียนบล็อกในอินเตอร์เน็ตเป็น คราวนี้อาจกลายเป็น "คุณยายสุดฮอต (hot grandma / hot grandmother) มีเพื่อนฝูง มีกิจกรรมสนุกๆ ทำ ไม่ต้องง้อคุณหลานคนเดียวอีกต่อไปอะไรทำนองนี้
(2). Take a hobby = ทำงานอดิเรก
มีคุณลุงหลังเกษียณหมาดๆ (เกษียณใหม่ๆ) หลายคนแต่งตัวแต่เช้า นั่งรถไปที่ทำงาน ไปแล้วก็เหี่ยวกลับบ้าน เพราะอะไรๆ ก็เปลี่ยนไป ยศถาบรรดาศักดิ์ที่เคยมีกลายเป็นไม่มี... นี่เป็นความเหงาแบบคนที่ไม่มีงานอดิเรก
ทีนี้ถ้าคุณลุงคนเดิมมีงาน อดิเรก เช่น เล่นตะกร้อหรือเล่นเทนนิส ฯลฯ กับพรรคพวกเพื่อนฝูงเป็นประจำ ไปไหนก็เข้าวงตะกร้อได้... แบบนี้คงไม่เหงาง่ายๆ ยิ่งถ้าเล่นไปชมคนอื่นให้เป็นคงจะไม่เหงาแน่
ตอนเด็กๆ นี่ผู้เขียนเล่นหมากรุกชนะนายตำรวจท่านหนึ่งเป็นประจำ ทำให้ท่านไม่ค่อยอยากเล่นด้วย กลับชอบไปเล่นหมากรุกกับคุณพ่อผู้เขียน...
คุณพ่อผู้เขียนเลยบอกเคล็ด ไม่ลับว่า ผู้เขียนน่ะ "เล่นหมากรุกไม่เป็น"... คนที่เล่นเป็นต้อง "แพ้ให้เป็น" เช่น เล่นไปสักพักแล้วต้องทำเป็นแกล้งแพ้ ฯลฯ แพ้บ้างชนะบ้างจึงจะมีคนอยากเล่นด้วย คนที่มุ่งมั่นเอาชนะอย่างเดียวไม่มีใครอยากเล่นด้วยเท่าไหร่
เพื่อนผู้เขียนท่านหนึ่งเป็นหมอกระดูกที่เก่งมาก ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์... ท่านเล่นเทนนิสเก่ง เล่นกับอาจารย์เป็นประจำ สังเกตดูพอเล่นไปสักพักจะแกล้งแพ้ และแพ้ได้แนบเนียนมาก ทำให้เป็นที่ชื่นชมของครูบาอาจารย์ (แน่นอนว่า อาจารย์เป็นฝ่ายชนะ)
(อ่านต่อ)
ที่มา : http://health2you.blog.mthai.com/2009/02/20/public-5
วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5
FBI เปิดศึกวิกิพีเดีย?
เกิดศึกโต้เถียงกันเล็กน้อย ระหว่างสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ ที่รู้จักกันในนาม FBI กับสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย เกี่ยวกับการใช้ภาพตราของสำนักงานในหน้าบทความของวิกิพีเดีย
เมื่อเดือนที่ผ่านมา สำนักงานสอบสวนกลางได้ส่งจดหมายไปยังมูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลสารานุกรมวิกิพีเดีย ให้นำภาพตราของเอฟบีไอ ออกจากหน้าบทความในสารานุกรม โดยขู่ที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายหากไม่ปฏิบัติตาม (ดูไฟล์จดหมายได้จากที่มา)
อย่างไรก็ตาม วิกิมีเดียได้ตอบโต้ว่า กฎหมายที่ถูกนำมาอ้างถึงนั้น เกี่ยวข้องกับการห้ามนำตราปลอมไปใช้แสดงตัวหรือหาประโยชน์ต่างหาก และเว็บไซต์อื่นๆ ก็แสดงตราแบบนี้เหมือนกัน รวมถึงสารานุกรมบริทานิกาด้วย ผู้บริหารวิกิมีเดียกล่าวว่า พร้อมที่จะโต้แย้งเรื่องนี้ในชั้นศาล
ด้านโฆษกของเอฟบีไอกล่าวว่า มีการส่งจดหมายลักษณะนี้อยู่เป็นระยะๆ อยู่แล้ว และตามกฎหมายแล้ว ใครก็ตามไม่สามารถใช้ตราสัญลักษณ์ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเอฟบีไอ
ด้านผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของ Electronic Frontier Foundation (EFF – องค์กรที่เรียกร้องเรื่องสิทธิเสรีภาพในโลกดิจิทัล) บอกว่านี่เป็นเรื่องงี่เง่ามาก และวิกิพีเดียก็มีสิทธิตาม First Amendment (บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก) ที่จะแสดงตรานี้ นอกจากนี้ยังกล่าวเสริมว่า เอฟบีไอน่าจะมีอะไรที่สำคัญกว่านี้ทำแน่ๆ
ที่มา – The New York Times
เกิดศึกโต้เถียงกันเล็กน้อย ระหว่างสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ ที่รู้จักกันในนาม FBI กับสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย เกี่ยวกับการใช้ภาพตราของสำนักงานในหน้าบทความของวิกิพีเดีย
เมื่อเดือนที่ผ่านมา สำนักงานสอบสวนกลางได้ส่งจดหมายไปยังมูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลสารานุกรมวิกิพีเดีย ให้นำภาพตราของเอฟบีไอ ออกจากหน้าบทความในสารานุกรม โดยขู่ที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายหากไม่ปฏิบัติตาม (ดูไฟล์จดหมายได้จากที่มา)
อย่างไรก็ตาม วิกิมีเดียได้ตอบโต้ว่า กฎหมายที่ถูกนำมาอ้างถึงนั้น เกี่ยวข้องกับการห้ามนำตราปลอมไปใช้แสดงตัวหรือหาประโยชน์ต่างหาก และเว็บไซต์อื่นๆ ก็แสดงตราแบบนี้เหมือนกัน รวมถึงสารานุกรมบริทานิกาด้วย ผู้บริหารวิกิมีเดียกล่าวว่า พร้อมที่จะโต้แย้งเรื่องนี้ในชั้นศาล
ด้านโฆษกของเอฟบีไอกล่าวว่า มีการส่งจดหมายลักษณะนี้อยู่เป็นระยะๆ อยู่แล้ว และตามกฎหมายแล้ว ใครก็ตามไม่สามารถใช้ตราสัญลักษณ์ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเอฟบีไอ
ด้านผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของ Electronic Frontier Foundation (EFF – องค์กรที่เรียกร้องเรื่องสิทธิเสรีภาพในโลกดิจิทัล) บอกว่านี่เป็นเรื่องงี่เง่ามาก และวิกิพีเดียก็มีสิทธิตาม First Amendment (บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก) ที่จะแสดงตรานี้ นอกจากนี้ยังกล่าวเสริมว่า เอฟบีไอน่าจะมีอะไรที่สำคัญกว่านี้ทำแน่ๆ
ที่มา – The New York Times
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)