หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

งานนำเสนอ

งานนำเสนอพร้อมบรรยาย




download click

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 10

วิกิพีเดีย จะเปลี่ยนมาใช้ CC

จิ มมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย (หรือ วิกีพีเดีย ถ้าไม่อ่านแบบทิงลิ ช) ประกาศมาเมื่อคืนว่า มูลนิธิวิกิมีเดียตกลงยอมรับที่จะมีการปรับแก้ลิขสิทธิ์ของวิกิพีเดียจาก เดิมที่เป็นแบบ GFDL ให้สอดคล้องกับ CC หรือ ครี เอทีฟคอมมอนส์ ที่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมและมีการพัฒนาตลอดเวลา (รวมถึงการแปลในหลายภาษา ซึ่งภาษาไทยเรากำลังจัดทำอยู่และคงออกมาให้ใช้เร็ววันนี้)

นอกจากนี้เขายังได้กล่าวอีกว่า ถ้า CC ได้มีการก่อตั้งขึ้นก่อนวิกิพีเดีย เขามั่นใจว่าจะเลือกใช้ CC เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลในวิกิพีเดียอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามรูปแบบของ GFDL ที่ปัจจุบันใช้อยู่ นั้นดีเช่นกัน แต่ค่อนข้างยากในการเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้

ที่มา:http://www.blognone.com/node/6441

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

วิกิพีเดียทำลายความลับ50ปี ละครดัง 'อกาธ่า คริสตี้'

ครอบครัวอกาธ่า คริสตี้ แสดงความไม่พอใจเว็บไซด์วิกิพีเดีย ที่เปิดเผยชื่อฆาตกรในละครดัง อ้างทำลายความลับที่ปิดมากว่า 50 ปี
ครอบครัวของอกาธ่า คริสตี้ นักเขียนนิยายปริศนาฆาตกรรมชื่อก้องโลกผู้ล่วงลับ แสดงความไม่พอใจหลังจากที่ 'วิกิพิเดีย' เว็บไซด์ให้ข้อมูลความรู้หลากหลายเรื่องทั่วโลกเปิดเผยชื่อฆาตกรในการแสดง ละครยอดนิยม เรื่อง The Mousetrap ของอกาธ่า คริสตี้ ซึ่งทางครอบครัวกล่าวว่า ได้ถูกปิดเป็นความลับมาเป็นระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ
โดยนายแม็ธธิว พริชาร์ด หลายชายผู้ครอบครองสิทธิการขายนิยายดังกล่าว เปิดเผยว่าเขาจะหยิบยกเรื่องนี้ไปหารือกับผู้บริหารของวิกิพีเดีย และโดยส่วนตัวเขาเห็นว่า ย่าของเขาคงจะไม่พอใจ หากโครงเรื่องในหนังสือนิยายหรือละครเวทีถูกเปิดเผยชื่อตัวฆาตกรรม
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ละครดังกล่าวถือเป็นละครยอดนิยมของเกาะอังกฤษ ที่มีความพยายามปิดความลับเกี่ยวกับตัวฆาตกรมาเป็นเวลากว่า 57 ปี โดยผู้ชมละครเรื่องนี้ต่างถูกขอร้องไม่ให้เปิดเผยชื่อฆาตกรในเรื่อง เพื่อรักษาอรรถรสการชมละครของคนที่ยังไม่เคยดูหรือชนรุ่นหลังต่อไป โดยนอกเหนือจากครอบครัวของ อกาธ่า คริสตี้ แล้ว ยังมีบรรดาแฟนๆอีกไม่น้อย ที่ร้องเรียนให้วิกิพีเดียถอดชื่อฆาตกรดังกล่าวออกจากเว็บไซด์
อย่างไรก็ตาม วิกิพีเดียปฎิเสธที่จะทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยระบุว่า การทำเช่นนั้นไม่ต่างอะไรจากการที่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดถอดเนื้อหาสำคัญของ เรื่องในหนังสือออกไป เพียงเพราะคนอื่นจะรู้ว่าตอนจบของเรื่องเป็นอย่างไร
ทั้งนี้เว็บไซด์วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมออนไลน์หลายภาษาที่แจกจ่ายในลักษณะเนื้อหาเสรี บริหารงานโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์ และ แลร์รี แซงเจอร์ ปัจจุบันวิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ที่ใหญ่และเติบโตเร็วที่สุด ในโลก

ที่มา:http://www.voicetv.co.th/content/20287

งานนำเสนอ














download power point click

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

กูเกิลคลอด"Knol" ชนวิกิพีเดีย
กูเกิลเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ "Knol" เปิดกว้างให้ผู้ใช้เข้ามาเขียนบทความได้เหมือนเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ชื่อดังอย่างวิกิพีเดีย (Wikipedia) แต่แตกต่างที่ผู้เขียนจะสามารถลงชื่อได้ มั่นใจการเปิดเผยชื่อผู้เขียนบทความจะเพิ่มความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญในวิกิพีเดียมาตลอด

วิกิพีเดียนั้นเป็นสารานุกรมออนไลน์ที่เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถแสดงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นๆได้อย่างเสรี การเปิดกว้างให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้ทำให้ข้อมูลมีความสดใหม่ทันเหตุการณ์ก็จริง แต่ความเสรีและการไร้การตรวจสอบกลับทำให้วิกิพีเดียมีจุดอ่อนที่เนื้อหาไม่น่าเชื่อถือ จุดนี้ Cedric DuPont ผู้จัดการผลิตภัณฑ์กูเกิลซึ่งดูแลโครงการ Knol มั่นใจว่าการรู้ว่าใครคือผู้เขียนบทความจะทำให้ผู้อ่านมีความเชื่อถือในบทความนั้นๆ กูเกิลจึงเปิดบริการ Knol เพื่อปฎิวัติวงการแหล่งความรู้ออนไลน์

กูเกิลให้บริการที่ http://knol.google.com เริ่มทดสอบบริการตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว

การเผยแพร่บทความใน Knol นั้นไม่ต่างจากการเขียนบล็อกทั่วไป สิ่งที่แตกต่างคือ Knol จะรวมข้อเขียนในหัวข้อนั้นๆไว้ในหน้าเดียว ที่สำคัญคือข้อเขียนที่มีการอัปเดทจะไม่เรียงตามละดับวันเวลาก่อนหลังการโพสต์ จุดนี้กูเกิลระบุว่าลำดับการแสดงข้อเขียนจะอยู่ที่การจัดดัชนีความนิยมซึ่งผู้อ่านจะเป็นผู้ลงคะแนนว่าข้อเขียนใดมีความน่าเชื่อถือ(อ่านต่อ...)

ที่มา : http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=31&post_id=32856&title=%A1%D9%E0%A1%D4%C5%A4%C5%CD%B4-Knol--%AA%B9%C7%D4%A1%D4%BE%D5%E0%B4%D5%C2--

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

E-Journal

E-Journal



download E-Journal click

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

วิกิพีเดียพึ่งได้ แต่ไม่เต็มร้อย

ไม่ นานมานี้ ยังมีกฎเหล็กสำหรับนักเรียนของโรงเรียนมัธยมและระดับมหาวิทยาลัยที่ใช้ เว็บไซต์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยว่าขอให้ระมัดระวังเรื่องการนำ ดิจิตอล คอนเทนต์ไปใช้อ้างอิง ไม่ควรนำคอนเทนต์ที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ไปกล่าวอ้างในรายงาน สรุปง่ายๆ ก็คือ ต้องระวัง Google และไม่ควรไปยุ่งกับ Wikipedia นั่นเอง

แต่ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเว็บไซต์ได้เจริญรุ่งเรืองและแพร่หลายเป็นอย่างมาก และปรากฏผลงานวิจัยในยุคดิจิตอล เว็บไซต์กลายเป็นเครื่องมือทางสังคมในการค้นหาความจริง เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระในหนังสือ และการก่อเกิดของ e- readers ได้ทำให้ระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมักจะล้ำหน้าตำราที่เคยใช้กันมาในอดีต ทั่วโลกได้ยอมรับการใช้ข้อมูลทางออนไลน์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากที่สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

เจย์ วอล์ช (Jay Walsh) ประชาสัมพันธ์ของ Wikimedia Foundation กล่าวว่าเฉพาะวิกิพีเดีย มีหัวข้อต่างๆให้ศึกษาค้นคว้ามากถึง 16 ล้านเรื่อง แต่ก็ยอมรับว่าไม่ใช่ทุกเรื่องที่สามารถจะนำไปอ้างอิงที่ดีได้ เพราะอาจจะมีเนื้อหาในบางเรื่องที่ไม่รู้ที่มาที่ไปว่าใครเป็นคนเขียนขึ้น ถึงอย่างนั้นเทคโนโลยีด้านสื่อที่ก้าวหน้าอย่างมากก็พอจะช่วยให้นักเรียนนัก ศึกษาสามารถแยกแยะเนื้อหาต่างๆ ที่พบเห็นได้

ผลการศึกษาของ Nature ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี 2005 โดยมีการสำรวจเรื่องราวต่างๆ ที่ปรากฏในวิกิพีเดียพบว่า วิกิพีเดียอยู่ในเกณฑ์เดียวกับ Encyclopedia Britannica ในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ถือเป็นผลสำรวจที่ช่วยเสริมแรงให้กับผู้ที่สนับสนุนแนวความคิดในศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน และ ทำให้นักการศึกษาบางคนยอมรับว่าทุกวันนี้วิกีพีเดียเป็นแหล่งค้นคว้าหาความ รู้พื้นฐานที่เพียงพอและพึ่งพาได้ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จะนำไปใช้อ้างอิงได้อย่างสมบูรณ์ (อ่านต่อ)


ที่มา : http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=3768&Itemid=34

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6

10+1 วิธี(tips)บรรเทาความเหงาวิกิพีเดีย

ท่านอาจารย์ลินดา ฮูซิเออร์ตีพิมพ์เรื่อง '10 มาตรการต้านความเหงา (10 tips for relieving loneliness)' ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
ก่อนอื่นขอให้เรามาทำความ เข้าใจกับธรรมชาติของความเหงาก่อนคือ ใครๆ ก็เหงาเป็นกันทั้งนั้น ปัญหาอยู่ที่ว่า เราจะจัดการกับมันอย่างไร ซึ่งถ้าจัดการกับมันดีๆ อาจพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสแห่งการพัฒนาได้
ธรรมชาติของโลกเราคือ ข่าวดีมักจะมาคู่กับข่าวร้าย และข่าวร้ายก็มักจะมาคู่กับข่าวดี... ถ้าเรามองความเหงาเป็นข่าวร้าย... ข่าวนี้ก็มักจะมาคู่กับข่าวดีๆ เช่นกัน
วิธีในการบรรเทาความเหงา 10 ข้อ ผู้เขียนขออนุญาตเขียนแบบ "ไทย(หลาย)คำ-อังกฤษ(น้อย)คำ" เพื่อให้พวกเราได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กันครับ
(1). Learn to become more self-sufficient = เรียนรู้การอยู่แบบพอเพียง
การอยู่แบบพอเพียงในที่นี้หมายถึงการ "ทำอะไรด้วยตัวเอง" หรือ "ช่วยเหลือตัวเอง" ได้พอสมควร เช่น ถ้าเป็นคุณยายและขับรถไม่เป็นก็อาจจะนั่งเหงาอยู่คนเดียวที่บ้าน ฯลฯ หลักการหนึ่งของโลกคือ เราต้องช่วยเหลือตัวเองก่อน พยายามให้เต็มที่ จึงจะมีคน "หันใจ (ภาษาเหนือ; หันใจ = เห็นใจ)"
ทีนี้ถ้าคุณยายเกิดใช้คอมพิวเตอร์เป็น ใช้อินเตอร์เน็ตเป็น... อาจทำให้ 'chat (พิมพ์ข้อความคุยกัน)' กับคุณหลาน ถ้าคุณยายเกิดใช้โทรศัพท์มือถือเป็น... อาจจะโทร.ไปคุยกับหลานได้
หรือถ้าพัฒนาความสามารถขึ้นไปอีก เช่น ถ้านั่งรถไฟฟ้าเป็น... อาจทำให้นัดไปเลี้ยงไอศกรีมกับหลาน และขึ้นรถไป "พบกันครึ่งทาง" ได้ ถ้าขับรถเป็น... อาจขับรถไปหาหลาน ดีไม่ดีเก่งขึ้นไปอีก... เขียนบล็อกในอินเตอร์เน็ตเป็น คราวนี้อาจกลายเป็น "คุณยายสุดฮอต (hot grandma / hot grandmother) มีเพื่อนฝูง มีกิจกรรมสนุกๆ ทำ ไม่ต้องง้อคุณหลานคนเดียวอีกต่อไปอะไรทำนองนี้
(2). Take a hobby = ทำงานอดิเรก
มีคุณลุงหลังเกษียณหมาดๆ (เกษียณใหม่ๆ) หลายคนแต่งตัวแต่เช้า นั่งรถไปที่ทำงาน ไปแล้วก็เหี่ยวกลับบ้าน เพราะอะไรๆ ก็เปลี่ยนไป ยศถาบรรดาศักดิ์ที่เคยมีกลายเป็นไม่มี... นี่เป็นความเหงาแบบคนที่ไม่มีงานอดิเรก
ทีนี้ถ้าคุณลุงคนเดิมมีงาน อดิเรก เช่น เล่นตะกร้อหรือเล่นเทนนิส ฯลฯ กับพรรคพวกเพื่อนฝูงเป็นประจำ ไปไหนก็เข้าวงตะกร้อได้... แบบนี้คงไม่เหงาง่ายๆ ยิ่งถ้าเล่นไปชมคนอื่นให้เป็นคงจะไม่เหงาแน่
ตอนเด็กๆ นี่ผู้เขียนเล่นหมากรุกชนะนายตำรวจท่านหนึ่งเป็นประจำ ทำให้ท่านไม่ค่อยอยากเล่นด้วย กลับชอบไปเล่นหมากรุกกับคุณพ่อผู้เขียน...
คุณพ่อผู้เขียนเลยบอกเคล็ด ไม่ลับว่า ผู้เขียนน่ะ "เล่นหมากรุกไม่เป็น"... คนที่เล่นเป็นต้อง "แพ้ให้เป็น" เช่น เล่นไปสักพักแล้วต้องทำเป็นแกล้งแพ้ ฯลฯ แพ้บ้างชนะบ้างจึงจะมีคนอยากเล่นด้วย คนที่มุ่งมั่นเอาชนะอย่างเดียวไม่มีใครอยากเล่นด้วยเท่าไหร่
เพื่อนผู้เขียนท่านหนึ่งเป็นหมอกระดูกที่เก่งมาก ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์... ท่านเล่นเทนนิสเก่ง เล่นกับอาจารย์เป็นประจำ สังเกตดูพอเล่นไปสักพักจะแกล้งแพ้ และแพ้ได้แนบเนียนมาก ทำให้เป็นที่ชื่นชมของครูบาอาจารย์ (แน่นอนว่า อาจารย์เป็นฝ่ายชนะ)
(อ่านต่อ)

ที่มา : http://health2you.blog.mthai.com/2009/02/20/public-5

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

E-BOOKS

Rescue Robot







link e-book robotics

link e-book Robot click

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5

FBI เปิดศึกวิกิพีเดีย?

เกิดศึกโต้เถียงกันเล็กน้อย ระหว่างสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ ที่รู้จักกันในนาม FBI กับสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย เกี่ยวกับการใช้ภาพตราของสำนักงานในหน้าบทความของวิกิพีเดีย

เมื่อเดือนที่ผ่านมา สำนักงานสอบสวนกลางได้ส่งจดหมายไปยังมูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลสารานุกรมวิกิพีเดีย ให้นำภาพตราของเอฟบีไอ ออกจากหน้าบทความในสารานุกรม โดยขู่ที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายหากไม่ปฏิบัติตาม (ดูไฟล์จดหมายได้จากที่มา)

อย่างไรก็ตาม วิกิมีเดียได้ตอบโต้ว่า กฎหมายที่ถูกนำมาอ้างถึงนั้น เกี่ยวข้องกับการห้ามนำตราปลอมไปใช้แสดงตัวหรือหาประโยชน์ต่างหาก และเว็บไซต์อื่นๆ ก็แสดงตราแบบนี้เหมือนกัน รวมถึงสารานุกรมบริทานิกาด้วย ผู้บริหารวิกิมีเดียกล่าวว่า พร้อมที่จะโต้แย้งเรื่องนี้ในชั้นศาล

ด้านโฆษกของเอฟบีไอกล่าวว่า มีการส่งจดหมายลักษณะนี้อยู่เป็นระยะๆ อยู่แล้ว และตามกฎหมายแล้ว ใครก็ตามไม่สามารถใช้ตราสัญลักษณ์ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเอฟบีไอ

ด้านผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของ Electronic Frontier Foundation (EFF – องค์กรที่เรียกร้องเรื่องสิทธิเสรีภาพในโลกดิจิทัล) บอกว่านี่เป็นเรื่องงี่เง่ามาก และวิกิพีเดียก็มีสิทธิตาม First Amendment (บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก) ที่จะแสดงตรานี้ นอกจากนี้ยังกล่าวเสริมว่า เอฟบีไอน่าจะมีอะไรที่สำคัญกว่านี้ทำแน่ๆ

ที่มา – The New York Times

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 4

วิกิเยาวชน



สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการนี้ กรุณาดูที่ เมทา:วิกิจูเนียร์ โครงการนี้มีจุดประสงค์ในการสร้างชุดหนังสือสำหรับเยาวชนกลุ่มอายุ 8 ถึง 10 ปี
หนังสือสำหรับเยาวชนนี้จะถูกพัฒนาขึ้นที่วิกิตำรา (Wikibooks) และเมื่อการพัฒนาเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว หนังสือดังกล่าวจะถูกตีพิมพ์ต่อไป ในขณะเดียวกัน หนังสือสำหรับเยาวชนที่สมบูรณ์แล้วนั้นจะถูกจัดทำขึ้นเป็นโครงการใหม่เก็บไว้ในวิกิเยาวชน ทั้งนี้ ท่านสามารถทำการแก้ไข ปรับปรุง หนังสือสำหรับเยาวชนที่สมบูรณ์แล้วได้ตลอดเวลาที่วิกิตำรา

ที่มา : http://meta.wikimedia.org/wiki/Wikijunior

opac




ดาวโหลดแบบเสนอ OPAC ที่นี่ครับ

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 3

ซอคเกอร์ซัค - วิกิพีเดีย



ซอคเกอร์ซัคดอตคอม (อังกฤษ: SoccerSuck.com) เป็นเว็บไซต์ข่าวสารฟุตบอลที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งของประเทศไทย และเป็นเว็บไซต์ทางด้านกีฬาที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับสองของประเทศไทย จากการจัดอันดับโดย Truehits.net [1]

เนื้อหาของซอคเกอร์ซัคดอตคอม เน้นไปข่าวสาร สาระเกี่ยวกับวงการฟุตบอลต่างประเทศ โดยอ้างอิงจากเว็บไซต์ข่าวสารฟุตบอลในต่างประเทศโดยตรง เนื้อหามีการอัปเดตอยู่เสมอ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน) [1]

นอกจากนั้น ซอคเกอร์ซัคดอตคอมยังมีเว็บบอร์ดไว้สำหรับสมาชิกได้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกัน ทั้งเรื่องฟุตบอล และเรื่องอื่นๆ ทำให้มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายเกิดขึ้นในเว็บไซต์เสมอ ปัจจุบัน มีสมาชิกสมัครใช้บริการจากเว็บรวมแล้วกว่า 70,000 คน และชื่อที่นิยมเรียกกันในกลุ่มผู้ใช้ด้วยกันคือ SS

ที่มา : http://www.soccersuck.com/soccer/

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 2

พื้นฐานของมารยาทในวิกิพีเดีย
* เชื่อมั่นว่าบุคคลอื่นมีเจตนาดี ทุกคนที่ร่วมเข้ามาเขียนในวิกิพีเดีย มีใจที่ต้องการสร้างบทความที่ดี และนโยบายของวิกิพีเดียเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นสามารถเขียนและแก้ไขบท ความที่ดีได้
* "จงปฏิบัติต่อผู้อื่น อย่างที่คุณปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อคุณ"
* สุภาพ
* พูดกับคนอื่น เหมือนกับที่อยากให้คนอื่นพูดกับเรา
* ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษา แชต เพราะผู้อื่นอาจถือเป็นการดูถูก หรือไม่เหมาะสม และอาจทำให้น้ำหนักความคิดเห็นของคุณน้อยลง (ยกเว้นกับผู้ ใช้ที่ยอมรับภาษาแชตในหน้าคุยกับผู้ใช้)
* ในหน้าพูดคุยหรืออภิปราย ตามมารยาทควรลง ชื่อเพื่อแสดงให้เห็นถึงผู้พูด โดยการใส่เครื่องหมาย ~~~~ (ทิลดา สี่ตัว)
* หลีกเลี่ยงการย้อนการแก้ไขของผู้ใช้คนอื่น เมื่อสามารถทำได้
* ทำงานโดยอยู่ภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
* เวลาโต้เถียง ให้แย้งกันเรื่องข้อเท็จจริงของตัวเนื้อหา อย่าเถียงกันเรื่องความเห็นหรือการแสดงออกส่วนตัวในส่วนเนื้อหา
* พยายามควบคุมอารมณ์ของตนระหว่างการโต้เถียง
* แก้ไขหรือสรุปข้อโต้เถียงที่คุณเป็นผู้ตั้งประเด็นไว้
* อย่าเฉยเมยกับคำถามผู้อื่น ถ้ามีผู้ที่สงสัยและต้องการแก้ไขงานของเรา ควรระบุเหตุผลที่เหมาะสมในการเขียนหรือแก้ไข
* อย่าลืมขอโทษถ้ากระทำผิดพลาด
* ให้อภัยการกระทำที่ผิด และลืมมันเสีย
* อย่าปลุกกระแสให้คนอื่นทะเลาะกัน
* ช่วยไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งระหว่างผู้ใช้คนอื่น
* ลองดู วิกิพีเดีย:ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย และ คำที่มักเขียนผิด
* ถ้ามีปัญหา ลองเว้นระยะไปสักพัก หรือลองดูบทความอื่น ในวิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความให้คุณตรวจสอบแก้ไขถึง 52,918 บทความ
* ท้ายสุด อย่าลืมดูว่าวิ กิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย และ วิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ



2. ข้อพึงระวัง
* พยายามอธิบายให้ชัดเจน ว่าต้องการทำอะไร เฉพาะอย่างยิ่งในหน้าพูดคุย
* ผู้เขียนบทความควรจะพยายามทำความเข้าใจในการแก้ไขและการวิจารณ์ของบุคคลอื่น ที่มีต่อบทความของตน
* ผู้มาใช้ใหม่ อาจผิดพลาดได้ง่าย พูดคุยด้วยคำพูดที่ดี และอธิบายข้อผิดพลาด และที่สำคัญ ต้องไม่ลืม แนะนำวิธีแก้ไขหรือหาทางออกให้
* อย่าสรุปว่า สิ่งที่เราไม่เห็นด้วย คือสิ่งที่ผิด หลายๆ เรื่อง สามารถหาทางออกได้มากกว่ากำหนดว่า ถูก หรือ ผิด
* อย่าว่าร้ายผู้อื่น ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม เพราะจะทำให้ผู้ใช้คนนั้นมีปฏิกิริยาตอบสนอง ถ้าคุณต้องการวิจารณ์ในเรื่องใดก็ตาม คุณควรจะวิจารณ์เขาอย่างสุภาพและติในเชิงก่อ
* ถึงแม้ว่ามารยาท จะมีเรื่องให้คิดมากมาย แต่อย่าลืมว่า วิกิพีเดียแนะนำให้กล้า แก้ไขบทความ
ที่มา : http://wapedia.mobi/th

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 1

10 เรื่องที่คุณ(อาจ)ไม่รู้เกี่ยวกับ วิกิพีเดีย


ถ้าพูด ถึง วิกิพีเดีย (Wikipedia) ยุค นี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก ย้อนไปเมื่อปี 2549 นิตยสารไทม์ได้มีการประกาศ "บุคคลสำคัญประจำปี" ซึ่งได้แก่ "ตัวคุณเอง" (You) โดยอ้างให้เหตุผลว่า "คุณทุกคน" มีส่วนในการสร้าง content ในลักษณะของการสร้างเว็บ 2.0 ในเว็บไซต์ต่างๆ อาทิ วิกิพีเดีย ยูทูบ และมายสเปซ ซึ่งทำให้เว็บไซต์เหล่านี้ประสบความสำเร็จขึ้นได้ จากการร่วมมือของบุคคลหลายล้านคนทั่วโลก ไม่ว่าวิกิพีเดียอังกฤษที่มีเนื้อหาอัดแน่น หรือวิกิพีเดียไทยที่กำลังจะโต รอหน่อยนาาาา ด้านล่างนี้เป็นเรื่องบางเรื่องที่คุณอาจไม่รู้
(อ่านต่อ...)

ที่มา : http://itshee.exteen.com/20080218/entry-1

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โปรเจ็คหุ่นยนต์กู้ภัย


แก้ไขหัวข้อโปรเจ็คแล้วครับเป็นโปรเจ็คหุ่นยนต์กู้ภัยโหลดได้ ที่นี้ครับ