วิกิพีเดียพึ่งได้ แต่ไม่เต็มร้อย
ไม่ นานมานี้ ยังมีกฎเหล็กสำหรับนักเรียนของโรงเรียนมัธยมและระดับมหาวิทยาลัยที่ใช้ เว็บไซต์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยว่าขอให้ระมัดระวังเรื่องการนำ ดิจิตอล คอนเทนต์ไปใช้อ้างอิง ไม่ควรนำคอนเทนต์ที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ไปกล่าวอ้างในรายงาน สรุปง่ายๆ ก็คือ ต้องระวัง Google และไม่ควรไปยุ่งกับ Wikipedia นั่นเอง
แต่ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเว็บไซต์ได้เจริญรุ่งเรืองและแพร่หลายเป็นอย่างมาก และปรากฏผลงานวิจัยในยุคดิจิตอล เว็บไซต์กลายเป็นเครื่องมือทางสังคมในการค้นหาความจริง เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระในหนังสือ และการก่อเกิดของ e- readers ได้ทำให้ระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมักจะล้ำหน้าตำราที่เคยใช้กันมาในอดีต ทั่วโลกได้ยอมรับการใช้ข้อมูลทางออนไลน์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากที่สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
เจย์ วอล์ช (Jay Walsh) ประชาสัมพันธ์ของ Wikimedia Foundation กล่าวว่าเฉพาะวิกิพีเดีย มีหัวข้อต่างๆให้ศึกษาค้นคว้ามากถึง 16 ล้านเรื่อง แต่ก็ยอมรับว่าไม่ใช่ทุกเรื่องที่สามารถจะนำไปอ้างอิงที่ดีได้ เพราะอาจจะมีเนื้อหาในบางเรื่องที่ไม่รู้ที่มาที่ไปว่าใครเป็นคนเขียนขึ้น ถึงอย่างนั้นเทคโนโลยีด้านสื่อที่ก้าวหน้าอย่างมากก็พอจะช่วยให้นักเรียนนัก ศึกษาสามารถแยกแยะเนื้อหาต่างๆ ที่พบเห็นได้
ผลการศึกษาของ Nature ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี 2005 โดยมีการสำรวจเรื่องราวต่างๆ ที่ปรากฏในวิกิพีเดียพบว่า วิกิพีเดียอยู่ในเกณฑ์เดียวกับ Encyclopedia Britannica ในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ถือเป็นผลสำรวจที่ช่วยเสริมแรงให้กับผู้ที่สนับสนุนแนวความคิดในศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน และ ทำให้นักการศึกษาบางคนยอมรับว่าทุกวันนี้วิกีพีเดียเป็นแหล่งค้นคว้าหาความ รู้พื้นฐานที่เพียงพอและพึ่งพาได้ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จะนำไปใช้อ้างอิงได้อย่างสมบูรณ์ (อ่านต่อ)
ที่มา : http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=3768&Itemid=34
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น